Photobucket

Swatch นาฬิกาสายอากาศ


Swatch ผู้นำนาฬิกาแฟชั่นชื่อดัง ที่ทำการออกแบบนาฬิกาไว้มากมายนับพัน เพื่อให้เหมาะกับผู้สวมใส่ทุกคน

Swatch ได้พัฒนาการออกแบบนาฬิกาดิจิตอลใหม่ๆ เพื่อรองรับกับความต้องการในรูปแบบความทันสมัย

Swatch Air Tube เป็นลักษณะสายอากาศ ที่คุณอาจจะเคยเห็นในจักรยาน มาโค้งงอเข้าเป็นวงกลม และทำการล็อคข้อต่อด้วยเกลียวหมุน เป็นลักษณะรูปกำไร ซึ่งยังคง concept ของริทซ์แบรนแฟชั่น (wristband fashion)

ออกแบบโดย : Laurence Dawes

ที่มา : www.yankodesign.com
Read rest of entry

ตื่นขึ้นมาก่อนจะเจ็บตัว


ตื่นนอนตอนเช้า นาฬิกาธรรมดาก็แสนจะหนวกหูอยู่แล้ว แต่ถ้ามาเจอกับนาฬิกาที่มีลูกบอลยิงออกมาเป็นทั้งหนวกหูและเจ็บตัวแน่นอน

นาฬิกาตัวนี้ใช้หลักการของการยิงบอลโค้งตามแนววิถีการยิง ลูกบอลจะถูกใส่ไว้กับตัวคาน เมื่อไหร่ที่เวลาถึงตำแหน่งเวลาตามที่เราตั้งไว้ แล้วเราไม่ทำการปิดสวิทช์ ลูกบอลก็จะถูกยิงออกมา มันจะยิงตลอด 10 นาทีถึงจะหยุดเอง

ตื่นเถอะ !! ก็ได้แต่หวังง่าลูกบอลที่ยิงออกมาไม่ใช่ลูกเหล็ก น่าจะเป็นฟองน้ำ ไม่งั้นเจ็บแน่ๆ

ออกแบบโดย Corey Harris


ที่มา : http://gadget-ideaz.blogspot.com
Read rest of entry

นาฬิกากำไรแก้วเรืองแสง


แนวความคิดจาก Swarovski’s ผู้ที่เชี่ยวชาญในเครื่องประดับคริสตัลและอัญมณี ได้ออกแบบนาฬิกาข้อมือ "Luna Watch" ที่ทำจากคริสตัล (Swarovski's) รวมกับโลหะสแตนเลสและโกเมน (Spessartite Garnet).

สามารถบอกเวลาโดยสัมผัสที่ผิว แล้วตัวเลขบอกเวลาก็จะปรากฎลอยขึ้นมาให้เห็นภายในกำไรคริสตัล
ดูแล้วมันก็สามารถใช้ได้ง่ายๆ กับฟังก์ชั่นธรรมดา แต่ว่าสวมใส่แล้วก็ทำให้ดูหรูหราขึ้นมากทีเดียวนอกจากนี้ยังสามารถเลือกสีของคริสตัลให้เหมาะกับผู้สวมใส่ได้

ออกแบบโดย: John Pszeniczny

ที่มา : http://www.yankodesign.com

Read rest of entry

Kufuu เป็นมากกว่า Idea

มีคำ ๆ หนึ่ง ในภาษาญี่ปุ่นว่า “Kufuu” ในภาษาอังกฤษนั้น เราได้แปลว่า “Idea Kaizen” แต่แท้จริงแล้ว ไม่ได้มีความหมายเช่นนั้นโดยตรง คำว่า “Kufuu” นั้น หมายถึง การดัดแปลงอย่างง่าย ๆ โดยใช้ไอเดียเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้งานที่ทำมีความเรียบร้อยขึ้น มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สะดวกสบายขึ้นอีกบ้างเล็กน้อย ตัวอย่างง่าย ๆ ก็เช่นว่า เวลาเราถ่ายสำเนาหนังสือ หรือเอกสารแล้ว เมื่อเก็บเข้าแฟ้ม ต้องมาเจาะรูข้าง ๆ 2 รู ก็มักจะพบปัญหาว่า รูทั้ง 2 รูนั้น ไปตัดเอาเนื้อหาไป บางทีเป็นเนื้อหาที่สำคัญก็อ่านไม่เข้าใจ หรือด้านข้างของตัวหนังสือชิดเกินไป ทำให้อ่านได้ลำบาก ในกรณีนี้ ไม่ถึงขนาดต้องไคเซ็น แต่เป็นการดัดแปลง (kufuu) ง่าย ๆ ก็คือว่า กำหนดว่า เวลาถ่ายเอกสาร ให้เนื้อหาเอกสาร ห่างจากทางด้านซ้ายประมาณ 1 นิ้ว ก็จะพอดี เรื่องง่าย ๆ เช่นนี้ แทบจะไม่ต้องอาศัยไอเดียที่เลิศเลออะไรเลย คิดจากการแก้ปัญหาที่เห็นอยู่เท่านั้นก็พอ

อีกตัวอย่างหนึ่ง จากประสบการณ์ที่ว่า เวลานำแผ่นใสเก็บกลับเข้าไปใน Clear File Holder ถึงแม้ว่า บนแผ่นใส จะมีตัวเลขกำกับอยู่ แต่เวลาเก็บเข้าที่เดิม หากไม่เรียงจากหมายเลขหนึ่งก่อน หมายเลขอื่น ๆ ก็ไม่รู้จะสอดเข้าตรงไหน จึงจะตรงพอดี วิธีการง่าย ๆ ก็คือ มีตัวเลขกำกับอยู่ในแฟ้มด้วย นี่ก็เป็นการดัดแปลง ที่แทบจะไม่ต้องใช้ไอเดียอะไรมากมายเลย ทำให้ความสับสน ความยุ่งยากนั้นหมดไป การไคเซ็นเล็ก ๆ น้อย ๆ เราอาจจะใช้คำว่า ดัดแปลง (kufuu) การใช้คำว่าดัดแปลงนี้ อาจจะทำให้เราไม่ต้องไปคิดถึงไคเซ็น ซึ่งเรามักจะคิดว่า ต้องเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ต้องใช้เวลาคิดมาก ไม่ต้องเปลี่ยนมุมมอง ไม่ต้องประชุมปรึกษาหารือ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นได้ทันทีอย่างเป็นธรรมชาติ เพียงแต่คิดในใจว่า เมื่อเห็นปัญหาแล้วต้องดัดแปลง แก้ไขทันทีเท่านั้นก็พอ เมื่อเริ่มคุ้นเคยกับการ ดัดแปลงแล้ว ก็คอยคิดอย่างมีหลักการ อย่างมีระบบ เช่น การทำไคเซ็นต่อไป

ที่มา : http://www.tpa.or.th
Read rest of entry
 

About Me

Followers

Product Suggest

Popular Posts